Register Here   

ติดต่อผ่าน Line

@Sirasafety

เยี่ยมชมร้านค้าของเรา

เพื่อนบ้าน

  • BW-LINKs.com

อันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

วิทยาศาสตร์การแพทย์ในสหรัฐอเมริกามีผลวิจัยว่า มีอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากมือถือที่จะมีผลต่อสมอง

วิทยาศาสตร์การแพทย์ในสหรัฐอเมริกามีผลวิจัยว่า มีอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากมือถือที่จะมีผลต่อสมอง
         
ล่าสุดในวารสารวิจัยของสมาคมแพทยศาสตร์อเมริกันว่าสมองมนุษย์เรามีความอ่อนไหวต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกส่งแพร่กระจายจากมือถือซึ่งมีเสาอากาศอยู่ ถ้าหากแนบมือถือชิดหูหรือศีรษะ ซึ่งก็เหมือนเสาอากาศอยู่ข้างสมอง ทางที่ดีคือให้สมองอยู่ห่างจากเสาอากาศก็จะปลอดภัย  ซึ่งในงานวิจัยระบุว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งแพร่มาจากมือถือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานของน้ำตาลในสมอง จึงมีการแนะนำวิธีการใช้มือถือ 5 ประการด้วยกันคือ     
      1.
อย่าใช้มือถือคุยกันเพราะเวลาใช้มือถือแนบข้างหูคุยกันนาน ๆ คงจะรู้สึกหูชาหัวมึนเหมือนกัน มีคำแนะนำว่าให้ใช้วิธีการส่งข้อความหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “text message” จะดีกว่า นอกจากจะไม่ต้องเสียเวลาคุยนานเปลืองเงินเปลืองทอง การติดต่อด้วยข้อความจะรัดกุมกว่า  สั้น ๆ เข้าใจง่าย ลองดูซิครับ
      2.
สวมเฮดโฟนเวลาต้องการคุยมือถือ หรือจะเป็นเฮดเซตประเภทบลูทูธก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้สมองอยู่ห่างไกลจากเสาอากาศในมือถือ เดี๋ยวนี้สาธารณชนเริ่มชินแล้ว เวลามองคนที่ใช้เฮดโฟนคุยคนเดียว เขาก็จะรู้ว่าไม่ใช่คนบ้าแน่นอน เพราะการแต่งตัวของคุณไม่เหมือนกับคนบ้าแน่ ๆ 
      3.
ซื้อมือถือที่ปล่อยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าน้อย ซึ่งโดยปกติแล้วที่สหรัฐอเมริกา คณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติจะกำหนดเรื่องนี้ไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ แต่ในทางปฏิบัติก็ยากที่จะควบคุมผู้ผลิตแต่ก็มีกลุ่มคณะของสิ่งแวดล้อม เช่น  Environmental Working Group หรือ EWG และสำนักข่าว  CNET ได้ทำบัญชีรายชื่อของโทรศัพท์มือถือพร้อมกับระดับการแพร่กระจายคลื่นแม่เหล็กของเสาอากาศไว้ด้วย ส่วนประเทศไทยก็สามารถค้นหาดูจากกูเกิลได้ 
      4.
ให้ใช้สปีคเกอร์โฟน หรือ กดปุ่มเสียงดังแล้ววางมือถือบนโต๊ะที่ทำงานหรือที่บ้านก็แล้วแต่ ก็สามารถคุยกันได้เหมือนในที่ประชุม แต่ระวังถ้าคุยคนเดียวควรอยู่ในห้องส่วนตัว เพราะจะไปรบกวนชาวบ้านเขาเสียสมาธิการทำงาน
      5.
อย่าคุยยาว ลากยาว คุยให้เข้าใจก็พอ หากไม่สะใจอยากจะคุยยาวก็สวมเฮดโฟนตามข้อสองจะดีกว่า

วันที่ : 12/03/2011, 13:55 แก้ไขล่าสุด : 17/03/2011, 12:41