Register Here   

ติดต่อผ่าน Line

@Sirasafety

เยี่ยมชมร้านค้าของเรา

เพื่อนบ้าน

  • BW-LINKs.com

การบริหารจัดการเกี่ยวกับสารเคมี

การบริหารจัดการเกี่ยวกับสารเคมีเป็นประเด็นทีสำคัญอย่างยิ่งในระบบการจัดการ

การบริหารจัดการเกี่ยวกับสารเคมี

 

การบริหารจัดการเกี่ยวกับสารเคมีเป็นประเด็นทีสำคัญอย่างยิ่งในระบบการจัดการ

1. การปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย

การปฏิบัติงานใดๆ ในอาคารเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายต้องได้รับการดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิดจากผู้ที่ได้รับการอบรม และมีประสบการณ์ในการจัดการเกี่ยวกับสารเคมีและ
วัตถุอันตราย โดยมีการกำหนดขอบเขต และแนวทางการรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจนซึ่งผู้ปฏิบัติงาน
มีความเข้าใจเป็นอย่างดี
วิธีการทำงานในอาคารเก็บต้องยึดหลักการเข้าก่อน-ออกก่อน (firstin-firstout) เพื่อลด
ความเสี่ยงที่เกิดจากการเลื่อมสภาพหรือการถูกทำลาย หรือความเสียหายของสารเคมีและ
วัตถุอันตราย ภาชนะบรรจุ หีบห่อ ฉลาก หรือเครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ
ต้องจัดเตรียมข้อแนะนำต่างๆ ให้พร้อมสำหรับผู้ปฏิบัติงานในอาคารเก็บสารเคมีและ
วัตถุอันตรายในเรื่องต่อไปนี้

- คำแนะนำในการทำงานเพื่อความปลอดภัยและความถูกต้องเกี่ยวกับอุปกรณ์ และวิธีการเก็บ
- ต้องมีข้อมูลความปลอดภัย MSDS สำหรับสารเคมีและวัตถุอันตรายทุกชนิดที่เก็บไว้
- คำแนะนำและวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยที่ดี
- คำแนะนำและวิธีการปฏิบัติงาน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

2. วิธีการรับ ขนถ่าย และการส่งสารเคมีและวัตถุอันตราย


เมื่อสารเคมีและวัตถุอันตรายส่งมาถึงอาคารเก็บ สารเคมีและวัตถุอันตรายต้องถูกจัดประเภทโดยพิจารณาจากใบขนสินค้า (bill of lading) และฉลาก ข้อมูลความปลอดภัย MSDS
ที่ได้จัดเตรียมโดยผู้ขาย
สารเคมีและวัตถุอันตรายต่างๆ ที่จะเก็บเข้าในอาคารเก็บ ต้องได้รับการตรวจสอบ
คุณลักษณะจากข้อมูลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ถ้าสารเคมีและวัตถุอันตรายนั้นหรือภาชนะบรรจุหีบห่ออยู่ในสภาพไม่ดี หรือด้วยเหตุใดๆก็ตามที่ปรากฏถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ต้องเข้าดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสมทันที

3. แผนผังการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย


ต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไว้โดยรอบระหว่างผนังอาคารกับกองสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บ และระหว่างกองสารเคมีแต่ละชนิดที่เก็บ เพื่อให้การตรวจสอบสภาพได้สะดวก มีการถ่ายเทอากาศที่ดี เพื่อการผจญเพลิงและจัดการกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล
ต้องจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายไว้ในสภาพที่ไม่กีดขวางการทำงานของรถฟอร์คลิฟท์ และการขนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉิน ทางเดินแคบๆหรือพื้นที่
ที่แออัด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายต่อกองสารเคมีและวัตถุอันตรายได้
ทางเดิน ประตูเข้า-ออก และทางวิ่งของรถฟอร์คลิฟท์ต้องมีเครื่องหมายแสดงทิศทางและแนวทางเห็นได้อย่างชัดเจนบนพื้น และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันอันตรายต่อคนเดิน
การจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายไม่ควรสูงเกิน 3 เมตร ยกเว้นกรณีการจัดเก็บที่มี
ชั้นวางเพื่อป้องกันการรับน้ำหนักที่มากเกินไป และเพื่อให้เกิดความมั่นคงแข็งแรงพอไม่โค่นล้มลง การจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายสูงๆโดยไม่มีชั้นวาง จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บอยู่ชั้นล่าง
ภาชนะหีบห่อบรรจุสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีคุณสมบัติคงทนรับน้ำหนักได้ สามารถ
จัดเรียงเป็นชั้นสูงๆ แต่ต้องทำเครื่องหมายพิเศษแสดงให้ทราบถึงความสูงในการจัดเก็บสูงสุดไว้ด้วย
ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อเครื่องหมายด้านนี้อยู่ด้านบนบนภาชนะหีบห่อ ถ้าไม่มีเครื่องหมายแสดงต้องแน่ใจว่าภาชนะหีบห่ออยู่ในตำแหน่งที่ฝาปิดอยู่ด้านบนในการจัดเรียงสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บในแต่ละส่วนของอาคาร โดยการ

- กำหนดหมายเลขของแต่ละพื้นที่
- แสดงตำแหน่ง ปริมาณ หรือกลุ่มสารเคมีและวัตถุอันตรายที่จัดเก็บตามคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดอันตราย
- แสดงตำแน่งของอุปกรณ์ฉุกเฉิน อุปกรณ์ผจญเพลิงรวมทั้งเส้นทางหนีไฟ
- แผนผังนี้ต้องจัดทำไว้อย่างน้อย 2 ชุด เก็บไว้ที่สำนักงานและที่หน่วยดับเพลิง และต้อง
ทำการปรับปรุงข้อมูลในแผนผังนี้ให้ทันสมัยตลอดเวลา
- บัญชีรายชื่อสารเคมีและวัตถุอันตราย และตำแหน่งที่เก็บในอาคาร ต้องทำการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา

 

4. การแยกเก็บและการคัดเลือกเก็บสารเคมี


การแยกเก็บ เป็นการเก็บกลุ่มสารเคมีต่างชนิดกัน แยกเก็บออกจากกันเป็นสัดส่วนภายในอาคารเดียวกัน
การคัดแยกเก็บ เป็นการเก็บสารเคมีตามคุณสมบัติทางกายภาพ กลุ่มสารเคมีต่างชนิดกันแยกเก็บไว้คนละอาคาร หรือภายในอาคารเดียวกันแต่มีกำแพงกันไฟกั้น
วัตถุประสงค์ของการแยกเก็บ และการคัดแยกเก็บสารเคมีเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเพลิงไหม้และการปนเปื้อนของสารที่เข้ากันไม่ได้
การเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายที่ถูกต้อง จะสามารถลดพื้นที่ของการเกิดอันตราย และลดความจำเป็นในการสร้างเขื่อนกั้นหรือลดการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า
หลักการพื้นฐานในการเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย

- ไม่เก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายที่มีอันตรายต่างกันไว้รวมกัน โดยพิจารณาจากสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดประเภทสารอันตรายที่กำหนดอันตรายโดยองค์การสหประชาติ
- การจัดเก็บของเหลวไวไฟสูงและแก๊ส ต้องจัดเก็บไว้นอกอาคาร
- สารเคมีและวัตถุอันตรายไวไฟ

5. สุขลักษณะอนามัยส่วนบุคคล


การดำเนินการเพื่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตราย


- จัดเตรียมชุดทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำความสะอาดร่างกายให้แก่คนงาน
- จัดสถานที่ที่สะอาดให้แก่คนงานสำหรับการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ และการสูบบุหรี่
- จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อบริการสำหรับการซักล้าง รีดชุดปฏิบัติงานที่สกปรก
ซึ่งต้องซักล้างบ่อยๆและสม่ำเสมอ หรืออาจใช้วิธีการว่าจ้างผู้อื่นดำเนินการ
- ห้ามรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ และสูบบุหรี่ในบริเวณที่ทำงาน
สำหรับการปฏิบัติงานประจำวัน ต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน ดังนี้
- หมวกสวมป้องกัน เช่น หมวกนิรภัย หมวกผ้า
- เครื่องป้องกันตา เช่น แว่นตานิรภัย แว่นสวมป้องกันตา หน้ากาก
- หน้ากากครอบกันฝุ่น ควัน และฟูม
- ชุดสวมทำงานที่เป็นชิ้นเดียว สวมใส่กระชับ และปิดมิดชิด
- ถุงมือพลาสติกหรือถุงมือยาง
- ผ้ากันเปื้อนพลาสติกหรือยาง
- รองเท้าบู๊ทสวมทำงานมีส่วนหัวแข็ง (รองเท้านิรภัย)


หมายเหตุ : ลักษณะของงานที่ทำจะเป็นตัวกำหนดว่า ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันชนิดใดดังกล่าว
อุปกรณ์สำหรับกรณีฉุกเฉินต้องจัดเตรียมให้พร้อมไว้ด้านนอกอาคารใกล้ทางเข้าออก

6. การหกรั่วไหลของสารเคมีและวัตถุอันตราย


การดูแลรักษาความสะอาด การขนย้ายสารเคมีและวัตถุอันตรายอย่างระมัดระวังช่วยให้ภาชนะบรรจุ มีความคงทนไม่ชำรุด แต่ถ้าการขนย้ายไม่ถูกวิธี ขาดความระมัดระวัง เป็นสาเหตุให้ภาชนะบรรจุได้รับความเสียหาย และทำให้หกรั่วไหลได้
เพื่อเป็นการลดอันตรายจากการสารที่หกรั่วไหล จำเป็นต้องจัดการเก็บและทำความสะอาดทันที ทั้งนี้ให้ศึกษาข้อมูลความปลอดภัย MSDS ประกอบ
อุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นในการจัดการกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่หกรั่วไหล คือ


- อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
- ถังเปล่าขนาดใหญ่
- กระดาษกาว เพื่อใช้ทำเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์บนถัง
- วัสดุดูดซับ เช่น ทราย ดิน ขี้เลื่อย
- สารละลายผงซักฟอก
- ไม้กวาด
- พลั่ว
- ประแจ
- กรวย


อุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน และเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต้องได้รับการตรวจสอบสภาพอย่างถี่ถ้วนและสม่ำเสมอ และต้องดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลต้องกำจัดสิ่งสกปรกปนเปื้อน และทำความสะอาด และ
ตรวจตราหลังใช้งานทุกครั้ง
ต้องจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลทุกครั้ง
ของเหลวที่หกรั่วไหลควรดูดซับด้วยสารดูดซับที่เหมาะสม เช่น ดินทราย ขี้เลื่อย อย่างไรก็ดีสารดูดซับเหล่านี้ไม่ควรใช้กับของเหลวไฟไฟและของเหลวออกซิไดส์
บริเวณที่หกรั่วไหลต้องจัดการกำจัดสารเคมีและวัตถุอันตรายออกไปตามคำแนะนำ
ในข้อมูลความปลอดภัย MSDS และกำจัดของเสียอย่างปลอดภัยตามคำแนะนำจากผู้ผลิต
ของแข็งที่หกรั่วไหลให้ทำความสะอาดด้วยเครื่องดูดฝุ่นอุตสาหกรรมหรืออาจใช้ทรายชื้นคลุก แล้วใช้พลั่วตัก กวาดพื้นด้วยแปรง

7. การกำจัดของเสีย


สารเคมีและวัตถุอันตรายที่เป็นของเสียทั้งหมด รวมทั้งภาชนะบรรจุหีบห่อ แผ่นรองสินค้า
ที่ชำรุดต้องกำจัดด้วยวิธีที่ปลอดภัย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมถึงแม้ว่าปริมาณสารเคมีและวัตถุอันตรายที่หกเพียงเล็กน้อย ก็ไม่สมควรที่จะปล่อยน้ำล้างพื้นลงสู่แหล่งน้ำผิวดินหรือ
ท่อระบาย ต้องได้รับการบำบัดก่อน
การกำจัดขยะสารเคมีและวัตถุอันตรายที่เก็บไว้นาน สารเคมีและวัตถุอันตรายที่ผลิตได้
ไม่ตรงตามข้อกำหนด วัสดุหีบห่อที่ปนเปื้อน และสารดูดซับ การกำจัดของเสียเหล่านี้ต้องใช้เทคนิคและวิธีการเก็บและกำจัดอย่างปลอดภัยและไม่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และให้เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายทางราชการกำหนด เพื่อความถูกต้อง ควรขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบโดยตรง
ข้อมูลความปลอดภัย MSDS จะมีข้อแนะนำและเทคนิควิธีการกำจัดสารเคมีและ
วัตถุอันตรายแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม
ภาชนะบรรจุที่ปนเปื้อนสารเคมีและวัตถุอันตราย ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่ต้องกำจัดหรือทำให้ใช้งานไม่ได้โดยการเจาะรูหรือทำลายก่อนทิ้ง

8. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น


อาคารทุกแห่งต้องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้พร้อมผู้ดูแลปฐมพยาบาลที่ได้รับการอบรมแล้ว
อุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็น ประกอบด้วย

- ฝักบัวสำหรับอาบน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
- อุปกรณ์ล้างตา
- กระเป๋าเครื่องปฐมพยาบาล
- เปลหามคนเจ็บ
- ผ้าห่มใช้คลุมดับเพลิง
- แสงสว่างฉุกเฉินและแถบสะท้อนแสง

อุปกรณ์ปฐมพยาบาลนี้ ต้องได้รับการตรวจสอบบ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ และต้องบำรุงรักษาดูแลให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา พร้อมทั้งทำรายงานการตรวจสอบการบำรุงรักษาทุกครั้ง และเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาล แพทย์ เพื่อการช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุ
ฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดอาการเป็นพิษเฉียบพลัน
โรงพยาบาลและแพทย์ต้องทราบข้อมูลความปลอดภัย MSDS ของสารเคมีและ
วัตถุอันตรายทุกตัวที่เก็บในอาคาร และต้องมียาแก้พิษไว้เพื่อการรักษาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เอกสาร MSDS ต้องส่งไปให้แพทย์พร้อมผู้ป่วยด้วย เพราะใน MSDS จะมีคำแนะนำในเรื่อง
การปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นที่เกิดจากสารเคมีและวัตถุอันตรายนั้น
คำแนะนำทั่วไปเมื่อได้รับสารอันตราย

- เมื่อหายใจเอาฟูมหรือไอสารเข้าไป ให้นำผู้ป่วยไปที่อากาศบริสุทธิ์ และนำคนเจ็บส่งแพทย์
- เมื่อสารเคมีและวัตถุอันตรายเข้าตา ให้ชะล้างตาด้วยน้ำจำนวนมากๆ นานอย่างน้อย
15 นาที แล้วส่งคนเจ็บไปพบแพทย์
- เมื่อสัมผัสสารเคมีและวัตถุอันตรายทางผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำ ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกทันที ชำระล้างร่างกายและนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล
- เมื่อกินสารเคมีและวัตถุอันตรายเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน นอกจากมีคำแนะนำให้อาเจียนได้ใน MSDS รีบนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล
- เมื่อเกิดแผลไหม้และแผลพุพอง บริเวณที่ได้รับบาดเจ็บควรทำให้เย็นโดยเร็วด้วยน้ำเย็น
จนทุเลาความเจ็บปวด เมื่อผิวหนังหลุดให้ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่ฆ่าเชื้อโรคแล้ว อย่าลอกผ้า
ที่ติดแผลออก และรีบนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล
- ต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์หลังจากได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วทุกกรณี

วันที่ : 11/03/2011, 20:04 แก้ไขล่าสุด : 17/03/2011, 12:42