Register Here   

ติดต่อผ่าน Line

@Sirasafety

เยี่ยมชมร้านค้าของเรา

เพื่อนบ้าน

  • BW-LINKs.com

กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารสูง หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ

ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมี การก่อสร้างอาคารสูงกันอย่างหนาแน่น และดูเหมือนว่าจำนวนอาคารสูงในเมืองใหญ่จะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่ตามมา คือ “ปัญหาด้านความปลอดภัย” เพราะในอาคารสูงมาตรการด้านความปลอดภัยถือว่า มีความสำคัญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคาร รวมถึง ผู้อาศัย ผู้ใช้งาน ต้องปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด

ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมี การก่อสร้างอาคารสูงกันอย่างหนาแน่น และดูเหมือนว่าจำนวนอาคารสูงในเมืองใหญ่จะยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งหนึ่งที่ตามมา คือ “ปัญหาด้านความปลอดภัย” เพราะในอาคารสูงมาตรการด้านความปลอดภัยถือว่า มีความสำคัญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอาคาร รวมถึง ผู้อาศัย ผู้ใช้งาน ต้องปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
       อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยในเบื้องต้น ได้มีการกำหนดในกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ทั้งในอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ ที่จะก่อสร้างใหม่ว่า ต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


        1. กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) กำหนดให้อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย เช่น
               - ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ทุกชั้น
               - ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ เช่น Sprinkle System
               - ระบบท่อยืนที่เก็บน้ำสำรอง และหัวรับน้ำดับเพลิง
               - ระบบไฟส่องสว่างฉุกเฉินในเส้นทางหนีไฟ ต้องมีมาตรฐานตามที่กำหนดดังนี้

                          ไฟฉุกเฉินชนิดแบตเตอรี่(ที่ติดตั้งแล้ว)ต้องมีป้ายให้เห็นชัดเจน และมีการทดสอบการทำงาน

      •            แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการทำงาน(สอบถามได้จากผู้ปฏิบัติงาน)
      •            ต้องใช้งานได้(เช็คสวิทเพื่อให้แน่ใจว่าไฟติด)
      •            ต้องติดตั้งอย่างมั่นคง(ไม่ใช้เชือกหรือลวดมัด)
      •            แผ่นสะท้อนแสง แผ่นครอบต้องสะอาดและมีสภาพดี(ไม่แตกร้าวหรือที่ครอบหาย)


               - เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ
               - บันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศ
               - ต้องมีช่องทางเฉพาะสำหรับบุคคลภายนอกเข้าไปบรรเทาสาธารณภัยได้ทุกชั้น
               - ต้องมีลิฟต์สำหรับใช้ดับเพลิงที่จอดได้ทุกชั้น และต้องมีระบบควบคุมพิเศษ สำหรับพนักงานดับเพลิงใช้ขณะเกิดเพลิงไหม้โดยเฉพาะ
               - มีระบบป้องกันฟ้าผ่า

               - มีถนนรอบอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 6.00 เมตร เพื่อความสะดวกในยามเกิดเพลิงไหม้ รถดับเพลิง และ รถกู้ภัยต่าง ๆ จะได้เข้าไปควบคุมเพลิง และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บอย่างทันท่วงที

ข้อกำหนดทั้งหมดนี้มีขึ้นก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร รวมถึงความปลอดภัยของอาคารและผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งอาคารทุกอาคารควรต้องถือ ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจทำให้งบประมาณในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้ หลาย ๆ อาคารหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามข้อกำหนด เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่อันตราย ทำให้การแก้ไขและให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างยากลำบาก เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน และเราไม่สามารถเรียกความสูญเสียที่เกิดขึ้นกลับคืนมาได้ ฉะนั้นแล้วการป้องกันก่อนเหตุร้ายเกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการตามแก้ไขภายหลัง

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
       1. กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
       2. กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

วันที่ : 08/08/2009, 14:54 แก้ไขล่าสุด : 08/08/2009, 18:29