การแบ่ง TYPE และ CLASS ของหมวกเซฟตี้ แบ่งได้เป็น TYPE1, TYPE2 , CLASS G, CLASS E, CLASS C, แต่ละคลาสจะกำหนดความหมายการใช้งานที่ต่างกันของหมวกเซฟตี้ และมีการกำหนดต้านประสิทธิภาพของหมวกแข็ง เน้นใน 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความต้านทานเปลวไฟ, ความต้านทานการส่งผ่านกำลัง, ความต้านทานการเจาะทะลุที่กลางหมวก, ความต้านทานกระแสไฟฟ้าเป็นฉนวน เป็นต้น
การแบ่ง TYPEและ CLASS ของหมวกเซฟตี้ และความหมายตามมาตรฐานฉบับปี 2003 ดังนี้
TYPE 1 หมวกเซฟตี้ ต้องผ่านการทดสอบแรงกระแทกกลางหมวกส่วนบน
TYPE 2 หมวกเซฟตี้ ต้องผ่านการทดสอบแรงกระแทกทั้งที่กลางหมวกส่วนบนและด้านข้างหมวก
CLASS G หมวกเซฟตี้ สามารถลดอันตรายจากการสัมผัส ตัวนำกระแสไฟฟ้าแรงดันต่ำ (LOW-VOLTAGE ELECTRICAL CONDUCTORS ) และหมวกเซฟตี้ต้องผ่านการทดสอบการต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ 2,200 โวลต์
CLASS E หมวกเซฟตี้ สามารถลดอันตรายจากการสัมผัสตัวนำกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง (HIGH-VOLTAGE ELECTRICAL CONDUCTORS) และหมวกเซฟตี้ต้องผ่านการทดสอบการต้านทานกระแสไฟฟ้าที่ 20,000 โวลต์
CLASS C หมวกเซฟตี้ ไม่มีคุณสมบัติป้องกันอันตรายจากการสัมผัสตัวนำกระแสไฟฟ้า
หมวกเซฟตี้ที่ได้รับการรับรองจะต้องระบุชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต วันเดือนปีผลิต เครื่องหมายANSI ขนาดของหมวกไว้บนตัวหมวกเซฟตี้ พร้อมด้วยฉลาก คำแนะนำของผู้ผลิต วิธีใช้ การคาดคะเนอายุใช้งาน วิธีปรับหมวก และขั้นตอนการดูแล
ในส่วนของค่ากำหนดด้านประสิทธิภาพ ของหมวกแข็ง (Performance Requirements)เน้นใน 4 หัวข้อ ได้แก่
ความต้านทานการส่งผ่านกำลัง หมวกเซฟตี้ต้องส่งผ่านกำลังได้ไม่เกิน 4,500 นิวตัน ในการทดสอบ 1 ครั้ง และส่งผ่านโดยเฉลี่ยไม่เกิน 3,780 นิวตันจากการทดสอบทั้งหมด
ความต้านทานกระแสไฟฟ้า หมวกเซฟตี้ CLASS G ต้องต้านทานแรงดันไฟฟ้าที่2,200 โวลต์ ความถี่ 60 เฮิรตซ์ เป็นเวลา 1 นาที อัตราการรั่วไม่เกิน 3มิลล์แอมแปร์ (mill amperes), ส่วนหมวกเซฟตี้CLASS E ต้องต้านทานแรงดันกระแสไฟฟ้าที่ 20,000 โวลต์ ความถี่ 60 เฮิรตซ์ เป็นเวลา 3 นาที อัตราการรั่วไม่เกิน 9 มิลล์ แอมแปร์
ความต้านทานเปลวไฟ (Flammability Resistance)
ความต้านทานการเจาะทะลุที่กลางหมวก (Apex Penetration Resistance)