อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PERSONAL PROTECTIVE EQUIPMENT OR PPE) หมายถึงอุปกรณ์ใดๆที่สวมใส่ลงบนอวัยวะใดๆของร่างกายหรือหลาย ๆส่วนรวมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันอันตรายให้แก่อวัยวะส่วนนั้น ๆ ไม่ให้ต้องประสบกับอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(PERSONAL PROTECTIVE EQUIPMENT OR PPE) แบ่งออกเป็นชนิดตามลักษณะที่ใช้ป้องกันได้ดังนี้
1.อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ เช่น หมวกนิรภัย มีลักษณะแข็งแกร่ง ทำด้วยวัสดุที่แตกต่างกันไป เพื่อป้องกันศีรษะซึ่งไม่เพียงแต่จากการกระแทก แต่รวมทั้งวัตถุที่ปลิวหรือกระเด็นมาโดน และไฟฟ้าช็อต หมวกนิรภัยทุกชนิดถูกออกแบบให้ส่งผ่านแรงเฉลี่ยที่มากที่สุดได้ไม่เกิน 850 ปอนด์ ตัวหมวกและรองในหมวกต้องห่างกันอย่างน้อย 3 เซนติเมตร
2.อุปกรณ์ป้องกันตาและใบหน้าเพื่อใช้ในการทำงานที่อาจเป็นอันตรายแก่สายตาและใบหน้า เช่นแสงจ้าชนิดที่มีอุลตร้าไวโอเลตสามาถป้องกันโดยใช้หน้ากากกรองแสง หากทำงานเจียรนัยต่างๆสามารถใช้หน้ากากป้องกันเศษโลหะ
3.อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการหายใจ
สามารถใช้หน้ากากป้องกันสารเคมีช่วยในการหายใจในบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารเคมีเป็นพิษสูง ที่มีไอน้ำหนาแน่น หรือในที่ขาดออกซิเจน(ใช้หน้ากากที่มีเครื่องเป่าอากาศ ทำหน้าที่เป่าอากาศเข้ามา ท่อส่งอากาศปกติจะยาวไม่เกิน 150 ฟุต ต่อเข้ากับหน้ากาก)
หน้ากากกรองฝุ่นจะใช้กรองฝุ่นไม่ให้เข้าไปกับอากาศที่ผ่านเข้าไป
4.อุปกรณ์ป้องกันอัตรายจากการได้ยินสำหรับเสียงที่ดังเกินกว่า 90 เดซิเบล จะแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้หลายชนิดดังนี้
ที่อุดหู(ear plug) ออกแบบให้มีขนาดพอเหมาะกับรูหู จะมีผลในการป้องกันเสียงมาก วัสดุที่ใช้ทำนั้น มีหลายชนิด เข่น พลาสติกอ่อน ยาง สำลี ซิลิโคน ชนิดที่ทำจากยางและซิลิโคนใช้มากที่สุด
ที่ครอบหู(ear muff) เป็นชนิดครอบใบหูทั้งสองข้าง บางชนิดมีลำโพงสำหรับใช้พูดติดต่อกันได้ในสถานที่มีเสียงดัง
5.ชุดป้องกันสารเคมีและความร้อน เช่น ชุดที่จะป้องกันร่างกายไม่ให้สัมผัสสารเคมีหรือความร้อน
ทั้งนี้รวมถึงถุงมือและปลอกแขนสำหรับงานที่เกี่ยวกับวัตถุที่คมและความร้อน ซึ่งใช้วัตถุดิบที่ทำจากหนังสัตว์ ยางหรือทำด้วยตาข่ายโลหะ
เสื้ออลูมิไนซ์สำหรับทำงานที่ๆมีอุณหภูมิประมาณ 2000 องศาฟาเรนไฮด์ เช่น ในที่มีการหลอมโลหะ เสื้ออลูมิไนซ์จะสะท้อนรังสีความร้อนที่แผ่ออกมา ชุดนี้ประกอบด้วย กางเกง เสื้อคลุม ถุงมือ รองเท้าหุ้มข้อ และที่ครอบศีรษะ
6.รองเท้าเซฟตี้ ควรจะรับน้ำหนักได้ 1000 กิโลกรัมโดยโลหะป้องกันที่หัวรองเท้าเหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก
7.เข็มขัดนิรภัยที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมหรือใช้ในการทำงานในที่สูง ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวผู้ใช้ในขณะทำงานให้สามารถทำงานในที่สูงหรือทำงานในที่ต่ำลงไป
บริษัทศิรา เซฟตี้แอนด์ทูล จำกัด ศูนย์รวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลครบครัน สามารถเข้าชมสินค้าได้จาก
www.thaisafetyproduct.com