Register Here   

ติดต่อผ่าน Line

@Sirasafety

เยี่ยมชมร้านค้าของเรา

เพื่อนบ้าน

  • BW-LINKs.com

การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ

อัคคีภัยเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ดั่งคำพูด “โจรปล้นสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้เพียงครั้งเดียว” ทั้งยังส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศและทางน้ำอีกด้วย การเกิดอัคคีภัยนั้นหากเกิดกับสถานประกอบกิจการใดก็ตามส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

การป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ 
    

อัคคีภัยเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้วย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ดั่งคำพูด โจรปล้นสิบครั้งไม่เท่าไฟไหม้เพียงครั้งเดียวทั้งยังส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศและทางน้ำอีกด้วย การเกิดอัคคีภัยนั้นหากเกิดกับสถานประกอบกิจการใดก็ตามส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ก่อให้เกิดปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

อัคคีภัยเกิดขึ้นได้อย่างไร 
       
การเกิดอัคคีภัยขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบหลักครบ 3 ประการด้วยกันคือ เชื้อเพลิง อากาศ และความร้อน เกิดปฏิกิริยาลูกทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้น เปลวไฟจะลุกต่อเนื่องกันไปจนกว่าเชื้อเพลิงจะหมด ไฟก็จะดับไปเอง 
       -
เชื้อเพลิง อาจจะอยู่ในสถานะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ เช่น ไม้ แมกนีเซียม แอมโมเนีย สารตัวทำ   
ละลาย ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
       -
อากาศ ซึ่งอาจจะอยู่ในสถานะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือ ก๊าซ เช่น ไม้ แมกนีเซียม แอมโมเนีย สารตัวทำ  
ละลาย ก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
       -
ความร้อน บริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสมพอที่จะทำให้เชื้อเพลิงนั้นเกิดเปลวไฟขึ้นได้ 
สาเหตุของการเกิดอัคคีภัย 
 
         การเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการต่างๆมักมีสาเหตุเนื่องมาจากความประมาทขาดความระมัดระวัง ในขณะปฏิบัติงาน จากการวิเคราะห์อุบัติเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบกิจการต่างๆ พบว่าการเกิดอัคคีภัยมีสาเหต ุและแหล่งกำเนิดแตกต่างกันไปพอสรุปได้ดังนี้  

·             อุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดประเภท ขั้วต่อหลวมการลัดวงจรไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนสูงหรือประกายไฟขึ้นได้

·             การสูบบุหรี่หรือการจุดไฟ ในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงไวไฟ การทิ้งก้นบุหรี่/ไม้ขีดไฟที่ติดไฟแล้วลงถังขยะ

·             การเสียดทาน การเสียดสีของส่วนประกอบของเครื่องจักร เครื่องยนต์ จนทำให้เกิดความร้อนสูงหากมีเชื้อเพลิงไวไฟอยู่ใกล้ความร้อนดังกล่าวทำให้เชื้อเพลิงนั้นเกิดการลุกไหม้ได้

·             วัตถุที่มีผิวร้อนจัด เหล็กที่ถูกเผา ท่อไอน้ำ เมื่อเชื้อเพลิงที่มีผิวร้อนจัดอาจเกิดการลุกไหม้

·             สะเก็ดไฟ ประกายไฟ หรือเปลวไฟ จากการเชื่อมและตัดโลหะ ประกายไฟภายในเครื่องจักรที่ขัดข้องเตาเผาที่ไม่มีสิ่งปกคลุม ประกายไฟ/เปลวไฟเหล่านี้สัมผัสเชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้เคียงทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้

·             ไฟฟ้าสถิต เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าสถิตระหว่างวัตถุทำให้เกิดประกายไฟขึ้น

·             ปฏิกิริยาของสารเคมีบางชนิด เกิดจากกระบวนการทางเคมีของสารเคมีซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เมื่อสัมผัสกับน้ำ อากาศ หรือวัตถุอื่น ๆทำให้เกิดการลุกไหม้ได้

·             สภาพบรรยากาศที่มีสิ่งปนเปื้อน ก่อให้เกิดการระบาดได้ เช่น  ฝุ่นผง ไอระเหย ก๊าซของสารซึ่งมีความเข้มข้นอยู่ในช่วงเหมาะสม เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิถึงจุดระเบิดก็จะระเบิดลุกไหม้ขึ้นได้ 

 

การป้องกันการเกิดอัคคีภัย 

 
      หลักในการป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่สำคัญประการแรก คือ การแยกเชื้อเพลิง ออกซิเจน หรือความร้อน อย่างใดอย่างหนึ่งออกไป ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องดำเนินการ ณ จุดที่อาจจะเป็นสาเหตุของอัคคีภัยได้ 

-
ระบบไฟฟ้า การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้งานเมื่อเป็นที่ที่มีไอระเหยของสารไวไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดกันการระเบิดได้ (Explosion proof) บริเวณที่มีไอระเหยของสารที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องเป็นชนิดทนการกัดกร่อนได้ และหลังเลิกการใช้เครื่องไฟฟ้าควรปิดสวิตซ์และดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง

การบำรุงรักษาเครื่องจักร หมั่นตรวจตราและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เครื่องจักรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อมิให้เกิดอัคคีภัยจากการชำรุดหรือความบกพร่องของอุปกรณ์นั้น 

การสำรวจและตรวจสอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งในอาคารและนอกอาคาร การแยกจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกวิธีตามเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ (Material Safety Date Sheet) เครื่องจักรมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ระบบไฟฟ้า ทางหนีไฟ ฯลฯ

- 
การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานทุกๆ คน จะต้องทราบและเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติที่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง ไม่เป็นต้นเหตุของการเกิดอัคคีภัยและฝึกซ้อมเมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้น การฝึกอบรม และฝึกซ้อมหนีไฟ สถานประกอบกิจการต้องจัดฝึกซ้อม ปีละ 1 ครั้ง โดยลูกจ้าง 40% ต้องเข้ารับการฝึกอบรม และฝึกซ้อมหนีไฟ

- 
การปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมพัฒนาและการส่งเสริมพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (หมวดที่ 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาแวดล้อมในการทำงาน) ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น

วันที่ : 17/03/2011, 19:51 แก้ไขล่าสุด : 17/03/2011, 19:52